คำถามที่พบบ่อย

ประกันรถยนต์
ประกันเดินทาง
ประกันอุบัติเหตุ
ประกันบ้าน
ประกันชีวิต
  1. ประกันชีวิต และ ประกันสะสมทรัพย์ : เบี้ยประกันชีวิตสามารถช่วยให้คุณลดหย่อนภาษีได้ ประกันชีวิตต้องมีระยะเวลาคุ้มครองมากกว่า 10 ปีขึ้นไป สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท
  2. ประกันสุขภาพ : เบี้ยประกันสุขภาพสามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท (สามารถลดหย่อนภาษีรวมกับ ประกันชีวิตและประกันสะสมทรัพย์ ได้ไม่เกิน 100,000 บาท)
  3. ประกันบำนาญ : เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท วางแผนการเงินด้วย ประกันบํานาญ ลดหย่อนภาษีได้ แถมตอนเกษียณยังมีเงินใช้อีกด้วย
  1. ผลตอบแทน
    • ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ จะได้รับเบี้ยประกันพร้อมผลตอบแทนคืน ตามที่ระบุไว้ในสัญญา โดยไม่หักภาษี
    • เงินฝากประจำ เมื่อครบกำหนดจะได้รับเงินคืนในรูปแบบดอกเบี้ย และถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% จากยอดดอกเบี้ยที่ได้
  2. กรณีเสียชีวิต
    • ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ จะได้รับทุนประกันตามที่ระบุไว้ในสัญญา
    • เงินฝากประจำ จะได้รับเงินต้น และดอกเบี้ยบางส่วน แต่หากมีการถอนคืนก่อนกำหนดไม่ใช่อัตราที่กำหนดไว้ตั้งแต่ต้น
  3. การลดหย่อนภาษี
    • ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท
    • เงินฝากประจำ จะไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
ผู้เอาประกันมีสิทธิ์ยกเลิกกรมธรรม์ได้ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับกรมธรรม์ ซึ่งบริษัทจะคืนเบี้ยประกันที่เหลือจากการหักค่าตรวจสุขภาพที่จ่ายตามจริง (ถ้ามี) และค่าใช้จ่ายของบริษัทฉบับละ 500 บาท
กรมธรรม์ทุกฉบับ จะมีแนวทางให้เลือก 3 แบบ สำหรับคนที่ไม่สามารถจ่ายค่าเบี้ยประกันต่อไปได้ ดังนี้
  1. การเวนคืนกรมธรรม์ (ยกเลิกกรมธรรม์) วิธีนี้จะมีผลให้ความคุ้มครองสิ้นสุดลง และจะได้รับเงินคืนตามที่ระบุไว้ในตารางเวนคืนกรมธรรม์ที่แต่ละคนถืออยู่
  2. การใช้เงินสำเร็จ กรณีนี้ผู้ถือกรมธรรม์ยังได้ความคุ้มครองตามกรมธรรม์อยู่ แต่จำนวนเงินเอาประกันจะลดลง โดยจำนวนเงินเอาประกันใหม่ดูได้จากตารางมูลค่าใช้เงินสำเร็จที่แนบอยู่ในกรมธรรม์
  3. การขยายเวลา วิธีนี้จำนวนเงินเอาประกันภัยจะเท่าเดิม แต่ระยะเวลาคุ้มครองจะน้อยลง โดยดูได้จากตารางมูลค่าขยายเวลาในกรมธรรม์ของแต่ละคน
  • ประกันชีวิตแบบบำนาญ เป็นการคุ้มครองรายได้หลังเกษียณเป็นหลัก โดยบริษัทประกันชีวิตจะเริ่มจ่ายเงินคืนตามกรมธรรม์ให้ตั้งแต่เมื่อครบอายุ 55 ปี หรือ 60 ปี และจะมีการจ่ายต่อเนื่องเป็นงวด ๆ ในช่วงหลังวัยเกษียณตามสัญญาไปจนกว่าจะครบกำหนด
  • ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ เป็นประกันชีวิตที่มุ่งเน้นในเรื่องการออม โดยให้ผลตอบแทนในระหว่างสัญญาหรือเมื่อครบกำหนดสัญญา พร้อมทั้งให้ความคุ้มครองชีวิตด้วยเช่นกัน
กรณีที่ผู้เอาประกันมีโรคประจำตัวหรือประวัติสุขภาพที่เสี่ยง บริษัทประกันชีวิตจะพิจารณาเพิ่มเติมข้อเสนอ ดังนี้
  1. รับความคุ้มครองตามปกติแต่เพิ่มเบี้ยตามความเสี่ยง
  2. อนุมัติโรคอื่นๆ ยกเว้นโรคที่เป็นมาก่อนและไม่สามารถรับความเสี่ยงได้
  3. เลื่อนการรับประกัน โดยมีระยะเวลาไม่คุ้มครองเพิ่มจากปกติ
  4. ปฏิเสธการรับประกัน

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล